วิธีการเลือกโน๊ตบุ๊กแบบไหน อะไรดี

หลานคนเมื่อถือเวลาที่จะต้องเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ใหม่ ก็จะมีปัญหาว่าจะเลือกอะไรดี วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการเลือกคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานของเรากัน เอาแบบใช้งานจริงๆ สมเหตุสมผล งบไม่บาน

เริ่มแรกเราต้องรู้ก่อนว่า หลักๆเราจะใช้คอมฯ เครื่องนี้ทำอะไร ทำงานเป็นหลัก เล่นเกมส์นิดหน่อย หรือทำอะไรก็ต้องเอาใช้ชัด ถ้ารู้ว่างานที่ทำใช้โปรแกรมอะไร และโปรแกรมนั้นมีการกำหนดขั้นต่ำของเครื่องมาหรือไม่ อันนี้เราต้องรู้ก่อน

หลักๆ แล้วคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่เรานำไปใช้งานก็จะมีอยู่ไม่กี่ประเภท เช่น

  1. งานทั่วไป ตัวอย่าง งานเอกสาร ใช้งานอินเตอร์เน็ต ท่องเว็บ ตรวจอีกเมล์ ดูหนัง ฟังเพลง ระบบงานที่ทำงานผ่านเว็บ บันทึกข้อมูล และอื่นๆ
  2. งานด้านกราฟิก ตัวอย่าง งานออกแบบ สื่อสิ่งพิมพ์ Artwork UX/UI งาน 3D ออกแบบโครงสร้าง ออกแบบบ้าน ออกแบบชิ้นส่วนต่างๆ ตัดต่อวีดีโอ งานเหล่านี้มีความจำเป็นต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า การ์ดจอแยก ที่จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับงาน
  3. งานได้พัฒนาซอฟต์แวร์ ตัวอย่าง เว็บแอปพลิเคชัน แอปพลิเคชันมือถือ ซอฟต์แวร์เดสก์ท็อป ปัญญาประดิษฐ์ (AI) Machine Learning Blockchain IoT

เมื่อเรารู้แล้วว่าเราต้องการคอมพิวเตอร์ไปใช้งานด้านไหน เราก็มาดูสิ่งสำคัญสิ่งต่อไป นั้นก็คือ ขนาดหน้าจอ ที่จะเป็นส่วนที่กำหนดขนาดของเครื่อง น้ำหนักของเครื่องด้วย

  1. ขนาด 13-14 นิ้ว จะเหมาะกับการพกพา ออกไปใช้งานนอกสถานที่ได้สะดวก
  2. ขนาด 15-16 นิ้ว จอใหญ่เหมาะกับการทำงานเอกสารและงานที่ต้องใช้พื้นที่ เปิดหลายๆงานพร้อมกัน
  3. ขนาด 17 นิ้ว เหมาะสำหรับเล่นเกม ดูหนัง และไม่ค่อยได้เคลื่อนย้ายบ่อยๆ

น้ำหนักของเครื่อง ก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของจอด้วย ถ้าเลือกเครื่องที่มีขนาดจอใหญ่ น้ำหนักก็จะเพิ่มขึ้นไปตามด้วยนั้นเอง แต่โดยหลักๆโน้ตบุ๊ก เราก็จะมีน้ำหนักอยู่ที่ น้อยกว่า 1 กิโลฯ ไปจันถึง 3 กิโลฯ

ต่อมาเป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่จะเอามาใช้ประกอบการตัดสินใจ นอกเหนือจากขนาดและรูปร่างแล้ว มีอะไรบ้างมาดูกันเลย ส่วนประกอบหลักที่เราจะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจก็จะมี

  1. CPU ย่อมาจาก Central Processing Unit ภาษาไทยแปลว่า หน่วยประมวลผลกลาง เปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่งต่างๆ คำนวณข้อมูล ควบคุมการทำงานของส่วนประกอบอื่นๆ ในคอมพิวเตอร์
    • ตัวอย่าง CPU ที่มีขาย
  2. RAM ย่อมาจาก Random Access Memory ภาษาไทยแปลว่า หน่วยความจำเข้าถึงแบบสุ่ม เป็นหน่วยความจำระยะสั้นความเร็วสูง ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่ CPU กำลังใช้งานอยู่ เช่น โปรแกรมที่เปิดอยู่ ข้อมูลที่กำลังแก้ไข
  3. HDD/SSD ย่อมาจาก Hard Disk Drive ภาษาไทยแปลว่า จานบันทึกแบบแข็ง เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน ใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่างๆ เช่น ไฟล์ระบบ โปรแกรม เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ เพลง
  4. GPU ย่อมาจาก Graphics Processing Unit ภาษาไทยแปลว่า หน่วยประมวลผลกราฟิก

ตัวอย่าง Spec คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานทั่วไป

  • CPU 1.0 GHz – 2.0 GHz
  • RAM 4GB – 8GB
  • HDD/SSD 256GB – 512GB
  • GPU On Board (Intel® Iris® Xe,Intel® UHD Graphics)
  • ขนาดจอ 12-15 นิ้ว

ตัวอย่าง Spec คอมพิวเตอร์ สำหรับงานด้าน งานด้านกราฟิก

  • CPU 2.0GHz – 4.0GHz
  • RAM 8GB – 32GB
  • HDD/SSD 512GB ขึ้นไป
  • GPU จำเป็นต้องมีการ์ดแยก GTX, RTX, AMD Radeon ** กรณีใช้งานด้าน 3D ควรเลือกการ์ดจอ ตระกูล RTX and Quadro
  • ขนาดจอ 15-17 นิ้ว

ตัวอย่าง Spec คอมพิวเตอร์ สำหรับงานด้าน งานได้พัฒนาซอฟต์แวร์

  • CPU 2.0GHz
  • RAM 16GB ขึ้นไป
  • SSD 512GB ขึ้นไป
  • GPU GPU On Board (Intel® Iris® Xe,Intel® UHD Graphics) หรือมีการ์ดแยก
  • ขนาดจอ 12-15 นิ้ว

Loading

Author: anakin

ใส่ความเห็น